วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (บทนำ)


ความหมายและพัฒนาการของเทคโนโยีสารสนเทศ
ข้อมูล (data) หมายถึง เหตุการณ์ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน ในรูปแบบต่างๆ หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น แต่ข้อมูลเหล่านี้ยังไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ทันที
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ผลลัพธ์อันเกิดจากการนำเอาข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา ผ่านการประมวลผล วิเคราะห์ สรุป จนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ในความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศนั้น สารสนเทศเกิดจากการนำข้อมูลมาประมวลผล และจะได้สารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือเผยแพร่ ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล เป็นแบบ ข้อมูล การประมวลผลและสารสนเทศ
1. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีกำเนิดจากคำสองคำคือ เทคโนโลยี และคำว่า สารสนเทศซึ่งทราบความหมายแล้วข้างต้น ส่วนคำว่า “เทคโนโลยี” หมายถึง ประดิษฐกรรม (innovate) ที่มีความสัมพันธ์กับการผลิต การประมวลผล และการจำแนกแจกจ่ายสารสนเทศไปยังผู้ใช้
คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ เรียกสั้นๆ ว่า IT มาจากคำว่า Information Technology ต่อมามีคำว่า ICT เริ่มนำมาใช้โดยคณะกรรมาธิการการศึกษาของรัฐสภาอังกฤษ เนื่องจากเห็นว่าการใช้คำว่า IT หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ ยังขาดความชัดเจน ควรเพิ่มคำว่า Communication เข้าไปด้วย
2. พัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในอดีตได้แบ่งแยกกันอย่างชัดเจน ทั้งในด้านการประมวลผล คือ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมกลายเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นทั้งคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
2.1 พัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งวิวัฒนาการโดยยึดการประมวลผลเป็นหลักได้ 7 ช่วง
2.2 พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สามารถแบ่งวิวัฒนาการด้านการสื่อสารข้อมูล และเผยแพร่สารสนเทศได้ 7 ช่วงเช่นกัน
องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 2 องค์ประกอบ คือ เทคโนโลยีเพื่อการประมวลผลคือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ดังนี้
1.1ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ประกอบด้วย 5 ส่วนหลักคือ
1.1.1หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer) แผ่นสัมผัส (Touch pad) จอภาพสัมผัส (Touch Screen) ปากกาแสง (Light Pen) เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader) และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader) เป็นต้น
1.1.2หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit: CPU) ประกอบด้วยวงจรไฟฟ้าที่เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) หน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลางมีหน่วยวัดเป็น MHz แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาถึงระดับ GHz คือ พันล้านคำสั่งต่อ 1 วินาที หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ หน่วยควบคุม (Control Unit) และหน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
1.1.3หน่วยความจำ (Memory Unit) หน่วยความจำมี 2 ส่วนหลักคือ หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) เช่น ROM หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory) เช่น รีมูฟเอเบิ้ลไดรฟ์ (removable drive) และฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
1.1.4หน่วยติดต่อสื่อสาร (Communication Unit) เช่น โมเด็ม (modem) และการ์ดแลน (LAN card) เป็นต้น
1.1.5หน่วยแสดงผล (Output Unit) เช่น จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องฉายภาพ (Projector) และลำโพง (Speaker) เป็นต้น
1.2ซอฟต์แวร์ (Software) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ
1) โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operation System Program) เช่น UNIX, Linux, Microsoft Windows, Windows Mobile, iOS และ Android
2) โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program) เช่น โปรแกรมเอดิเตอร์ (Editor) Norton’s Utility เป็นต้น
3) โปรแกรมแปลภาษา (Translation Program)
1.2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1) ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เช่น Word Processing, Spreadsheet, Database Management และ Presentation
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน ซึ่งเขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์
แนวโน้มของคอมพิวเตอร์ที่จะได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงเพื่อการทำงานคือ อัลตราบุ๊ก (ultrabook) ส่วนแท็บเล็ต (tablet) ก็เป็นที่นิยมนำมาใช้เพื่อความบันเทิง สำหรับซูเปอร์สมาร์ทโฟน (super smartphone)
2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคมซึ่งพัฒนาการของเว็บระหว่าง ค.ศ. 1990 – 2000 กล่าวได้ว่าเป็นช่วงของเว็บ 1.0 (web 1.0) เป็นการเชื่อมต่อข้อมูล ดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงได้อย่างไม่มีขีดจำกัด เช่น การรับส่งอีเมล สนทนากับเพื่อนโดยใช้แชตรูม (chat room) หรือโปรแกรมไออาร์ซี (Internet Relay Chat: IRC) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เว็บบอร์ด การอ่านข่าวข้อมูลต่างๆ ในเว็บไซต์ เป็นต้น ต่อมาก็เข้าสู่ยุคที่เรียกว่า เว็บ 2.0 (web 2.0 ปี ค.ศ. 2000-2010) วิถีชีวิตบนอินเทอร์เน็ตจึงเปลี่ยนไป มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อเขียนบล็อก (Blog) การแชร์รูป วีดิทัศน์ ร่วมเขียนสารานุกรมออนไลน์ในวิกิพีเดีย การโพสต์ความเห็นลงในท้ายข่าว การหาแหล่งข้อมูลด้วย อาร์เอสเอส ฟีด (RSS feeds) เพื่อดึงข้อมูลมาอ่านที่หน้าจอ และการใช้ google การก้าวสู่ยุค เว็บ 3.0 (web 3.0 ปี ค.ศ. 2010-2020) เป็นยุคที่เน้นไปที่การพัฒนาแก้ไขปัญหาในระบบเว็บ 2.0 เพื่อการจัดการข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาลเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงเนื้อหาของเว็บได้ดีขึ้น
กล่าวโดยสรุปองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ที่มีองค์ประกอบหลัก 5 ส่วนคือ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยติดต่อสื่อสาร และหน่วยแสดงผล
บทบาทและทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคสื่อใหม่
1. บทบาทของสื่อใหม่กับสภาวะปัจจุบัน สื่อใหม่ (New Media) หรือสื่อนฤมิต เพื่อให้ผู้ใช้สามารถรับข้อมูลข่าวสารในรูปมัลติมีเดียแบบ Real Time โดยผ่านทางคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือได้ทั่วโลก ดังนั้นสื่อใหม่จึงเกิดจากการหลอมรวมเทคโนโลยีการสื่อสารภายใต้พัฒนาการของภาษาระบบตัวเลข (Digital Language)
2. ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศคือ ทักษะการค้นหาสารสนเทศ การใช้เครื่องมือ บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต การเลือกใช้และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. แนวโน้มและบทบาทของสื่อใหม่ในอนาคตพฤติกรรมการบริโภคสื่อในอนาคตจะเปลี่ยนไปตามวิวัฒนาการด้านการสื่อสาร ซึ่งการบริโภคข่าวสารของคนทั่วไปจะเริ่มหันมาบริโภคข่าวสารผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น
ประโยชน์และความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
มีความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถภาพในเกือบทุกๆ กิจกรรม โดยก่อให้เกิดการลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย ช่วยเพิ่มคุณภาพงาน การสร้างกระบวนการหรือกรรมวิธีใหม่ๆ แก่ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศตามต้องการ
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
  1. ผลกระทบในเชิงบวก
1.1             การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
1.2             เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส
1.3             สารสนเทศกับการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา
1.4             เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม
1.5             เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ
1.6             การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม
  1. ผลกระทบในเชิงลบ
2.1             ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
2.2             ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสิ่งแวดล้อม
2.3             ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคม
2.4             ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อเศรษฐกิจ
2.5             ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสุขภาพจิต
แนวโน้มการใช้และการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์กรต่างๆ จะมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้น
2. การบริการในยุคเศรษฐกิจฐานบริการ (Service-based Economy)
ปัจจุบันเรากำลังเข้าสู่ยุคที่ผู้บริโภคถูกเรียกว่า “สกรีนเนเจอร์” (Screenager) จะเป็นไปตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ พฤติกรรมการใช้ข้อมูลข่าวสารของผู้ใช้ และสภาพทางเศรษฐกิจของแต่ละชุมชน แนวโน้มการให้บริการจึงใช้ช่องทางผ่านอุปกรณ์ที่ใช้งานง่าย และสะดวกในการพกพา
3. การบริการแบบเว็บบริการและการเชื่อมโยงสารสนเทศ
สรุป
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่มีการดำเนินการเพื่อให้มีการจัดทำสารสนเทศไว้ใช้งาน มีการประยุกต์เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โทรคมนาคม เครื่องประมวลผลคำและเครื่องมือที่ประมวลผลได้โดยอัตโนมัติอื่นๆ เพื่อรวบรวมจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูล การผลิต สื่อสาร บันทึก เรียบเรียงใหม่ และแสวงหาประโยชน์จากสารสนเทศเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศและใช้ง่านร่วมกันได้อย่างสะดวก ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องในการใช้และพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจึงต้องพิจารณาการใช้ การให้บริการอย่างเหมาะสมทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีทั้งผลกระทบในทางบวกและในทางลบ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น